เอเปค (APEC) มีความสำคัญต่อไทยอย่างมาก โดยการส่งออกสินค้าของไทยมากกว่า 70% ถูกส่งออกไปยังกลุ่ม APEC และนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเอเปค ซึ่งสร้างรายได้ประมาณ 2 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
สำหรับการประชุมเอเปค ครั้งที่ 29 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพใน ปีนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล (Open Connect Balance)” Krungthai COMPASS มองว่าควรจับตาการผลักดันการขับเคลื่อนเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปชิฟิก FTAAP ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ และหนุนการเชื่อมโยงของห่วงซ่อุปทานในหมู่สมาชิก อีกทั้ง คาดว่าการประชุมในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ดีขึ้นในหลายมิติซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาวได้
1. APEC คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
APEC ถูกจัดตั้งเมื่อปี 2532 เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นทางเศรษฐกิจ ให้สมาชิกที่มีแนวนโยบายที่แตกต่างกันหาแนวทางร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยเน้นประเด็นด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือในเศรษฐกิจของทุกภาคส่วน พลังงาน สาธารณสุข E-commerce และสิ่งแวดล้อมเพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า (สินค้าและบริการ) การลงทุนและการเดินทางระหว่างประเทศ
2. APEC แตกต่างจากข้อตกลงพหุภาคีอื่น ๆ อย่างไร
การประชุม APEC ไม่ใช่ความร่วมมือเฉพาะของภาครัฐเท่านั้น แต่เป็นความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย ซึ่งก็คือ APEC Business Advisory Council (ABAC) หรือสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของ APEC ซึ่งทุกปีจะมีการรวมตัวกัน เพื่อหารือ และแลกเปลี่ยนมุมมองด้านธุรกิจและความท้าทายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อสรุปคำแนะนำประจำปีต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC
3. APEC สำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจโลก
APEC ถือเป็นประเทศที่มีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่ 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ส่วนไทยมีขนาดทางเศรษฐกิจอยู่ในลำดับที่ 11 (GDP เท่ากับ 0.5 ล้านล้านดอลลาร์) รองจากไต้หวัน (0.7 ล้านล้านดอลลาร์) และเมื่อเทียบในกลุ่มอาเซียนถือเป็นลำดับที่ 2 รองจากอินโดนีเซีย (1.2 ล้านล้านดอลลาร์) ทางด้านประชากร APEC มีพลเมืองในปี 2564 รวมกันทั้งสิ้น 2.9 พันล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 37% ของทั้งโลก ซึ่งในจำนวนนี้มี 3 ชาติสมาชิกสำคัญที่จำนวนพลเมืองอยู่ใน 5 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ จีน (อันดับ 1) สหรัฐฯ (อันดับ 3) และอินโดนีเซีย (อันดับ 4) ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 9 ของกลุ่ม APEC และถือเป็นลำดับที่ 4 ของ
กลุ่มอาเซียนที่เป็นสมาขิก APEC นอกจากจะเป็นการรวมกลุ่มที่มีขนาดใหญ่แล้ว APEC ยังเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากสัดส่วนกำลังแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมดของสมาชิก APEC ในปี 2564 สูงถึง 63.6% สะท้อนว่าโครงสร้างทางประชากรกว่า 2 ใน 3 ยังอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งสูงกว่าสัดส่วนของทั้งโลก (59%) บ่งชี้โอกาสในการลงทุน และการเข้าถึงตลาดที่มีแนวโน้มเติบโต นอกจากนี้ APEC ยังเป็นตลาดที่มีพลวัตสูง เนื่องจากหลายประเทศอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นเมือง
จากข้อมูลของ United Nations พuว่า APEC มีประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองสูงถึง 73% มากกว่าสัดส่วนของโลก (56.6%) การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานมาสู่เมืองของประชาทรใน APEC จึงเป็นโอกาสทางการตลาดที่สำคัญต่อไปในอนาคตโดยภาพรวม Krungthai COMPASS ประเมินว่าความร่วมมือของกลุ่ม APEC จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อ
4.ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับ APEC เป็นอย่างไร
นอกจากนี้ ไทยยังมีการเชื่อมโยงทางด้านการลงทุนกับกลุ่มสมาชิก APEC อย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนโดยตรงจากประเทศสมาชิก APEC ที่ไหลเข้าต่อเนื่อง และการลงทุนของไทยในประเทศสมาชิก APEC เพิ่มขึ้นเช่นกันสำหรับด้านการท่องเที่ยว ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจากกลุ่มประเทศ APEC สูงถึง 28.1 ล้านคน คิดเป็น 70.4% ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาไทยทั้งหมดในปี 2562 โดยสัญชาติที่เดินทางมามากที่สุดคือ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
5. กลุ่ม APEC มีบทบาทอย่างไรต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย
กรณีของไทยนั้น Krungthai COMPASS พบว่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 4 อันดับแรกในปี 2564 เป็นผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (คิดเป็น 26.2% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) ยานยนต์และชิ้นส่วน (14.2%) ผลิตภัณฑ์ยาง (5.8%) และพลาสติก (5.3%) ซึ่งสินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยัง APEC ทั้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ ที่ผลิตป้อนตลาด APEC ถึง 77.3% ยานยนต์ฯ (57.5%) ผลิตภัณฑ์ยาง (72.5%) และพลาสติก (72.8%) แสดงถึงบทบาทของการค้าระหว่างกันในกลุ่มสมาชิก (Intra-trade) ที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างสูง ซึ่งต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ร่วมกันจากเงื่อนไขทางการค้าและการลงทุนที่เอื้อแก่สมาชิกในกลุ่มภายใต้กรอบ APEC รวมถึงความพยายามในการลดอุปสรรคทางการค้าและปรับกฎเกณฑ์ที่ช่วยให้ตลาด APEC เปิดกว้างแก่ชาติสมาชิกให้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดจะช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาสมาชิกอย่างต่อเนื่อ
6. นักท่องเท่ียวต่างชาติจาก APEC มีความสำคัญต่อไทย อย่างไร
นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสมาชิกอื่นในกลุ่ม APEC สะท้อนจากที่ไทยเป็นประเทศพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุดในกลุ่ม APEC ซึ่งคิดเป็น 11.8% ของ GDP ในปี 2562 (หรือคิดเป็นมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวในกลุ่ม APEC คิดเป็น 66.2% ของรายได้ทั้งหมด โดยสัญชาติที่สำคัญ คือ จีน คิดเป็นร้อยละ 1 ใน 4 ของรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดรองลงมาคือ มาเลเซีย (5.6%) รัสเซีย (5.4%) และญี่ปุ่น (4.9%)
7. ความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ระดับไหน หากเทียบกับสมาชิก APEC
ขณะที่ด้านราคาปรับดีขึ้น ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ อยู่อันดับที่ 31 (ลดลง 11 อันดับ) โดยปัจจัยสำคัญที่ลดลงคือด้านการคลังและกฎหมายทางธุรกิจ ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจอยู่อันดับที่ 30 (ลดลง 9 อันดับ) โดยปัจจัยสำคัญที่ปรับลดลง คือผลิตภาพและประสิทธิภาพ ขณะที่การบริหารจัดการยังคงอันดับเดิม และด้านโครงสร้างพื้นฐาน อยู่อันดับที่ 44 (ลดลง 1 อันดับ) ลดลงจากด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี โครงสร้างพื้น่ฐานทั่วไปและการศึกษาปรับดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้อันดับความสามารถทางการแข่งขันลดลงมากที่สุด คือ ด้านสภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าหลายประเทศเนื่องจากไทยพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวสูง จึงทำให้อันดับของไทยอยู่ในอันดับต่ำเมื่อเทียบกับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งในปี 2562 ความสามารถทางการแข่งขันของไทยอยู่ใน อันดับที่ 25 จาก 63 ประเทศ
นอกจากนี้หากเปรียบเทียบในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก จะเห็นว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยในปี 2565 อยู่อันดับที่ 9 จาก 14ประเทศ ซึ่งคงอันดับเดิมจากปีก่อน และอยู่สูงกว่า ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ที่เป็นสมาชิกใน APEC ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัวโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญจะสนับสนุนให้อันดับขีดความสามารถของไทยปรับดีขึ้นได้ในระยะข้างหน้า แม้ว่า ไทยยังมีความเปราะบางในหลายด้านโดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ยังอยู่ในอันดับที่ต่ำ
8. APEC มีความสำคัญเพียงใดต่อภาคการเงิน ละการขับเคลื่อน Digital economy
นอกจากนี้ ระบบการเงินของ APEC ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังได้รับปัจจัยหนุนจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดีจิทัล Deloitte’ คาดว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ในทิศทางที่เติบโตอย่างรวมเร็ว จากการค้าผ่านระบบ E-commerce และ Digital Banking ที่ช่วยกระตุ้นธุรกรรมข้ามพรมแดนระหว่างสมาชิก APEC สอดคล้องกับตัวเลขสัดส่วนการเข้าถึง Internet ต่อประซากร ซึ่งเป็นดัชนีหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความพร้อมของระบบนิเวศน์ทางดิจิทัล โดยอัตราการเข้าถึง Internet ของสมาชิกกลุ่ม APEC ในปี 2564 เท่ากับ 81.1% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 59.9% ขณะที่ตัวเลขของหลายชาติในเอเชียและไทยต่างมีสัดส่วนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของโลก นวัตกรรมล่าสุดจากการพัฒนาระบบข้อมูลเปิดที่เชื่อมโยงกัน (Interoperable Open Data) ซึ่งธนาคารกลางในกลุ่มอาเซียนรวมถึงไทยได้ร่วมกันผลักดันเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินระหว่างประเทศผ่าน QR Payment ถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค
Krungthai COMPASS คาดว่า ตลาด APEC ที่มีพัฒนาการก้าวหน้าไปไกลกว่าหลายส่วนของโลกดังกล่าวข้างต้น จะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการขยายช่องทางการค้าและการลงทุนจากตลาดที่ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องแห่งนี้
9. การเข้าร่วม APEC ของไทย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ท่ีสำคัญอย่างไร
Krungthai COMPASS wบว่า สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยัง APEC เพิ่มจาก 63.8% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดในปี 2533 เป็น 72.1% ในปี 2564 โดยมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญจาก 14.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2533 เป็น 192.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นถึง 13.1 เท่าตัว ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาด APEC เติบโตโดยเฉลี่ย (CAGR) ถึงประมาณปีละ 9.6% แม้จะมีความล่าช้าในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของกลุ่ม APEC ซึ่งเป็นความริเริ่มตามปฏิญญาโบกอร์เมื่อปี 2553 ขณะที่การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) ยังไม่สามารถบรรลุข้อสรุปได้ แต่ความพยายามผลักดันการลดอัตราภาษีศุลกากรและอุปสรรคทางการค้าระหว่างสมาชิก APEC ที่ดำเนินมาโดยตลอด 3 ทศวรรษ ถือเป็นความคืบหน้าที่สำคัญและเอื้อต่อการค้าระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยอีกด้วย
10. ประเด็นสำคัญของการประชุม APEC ครั้งน้ีคืออะไร และจะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทยและโลก
(1) การเปิดโอกาสด้านการการค้าเสรีและการลงทุนผ่านเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซฟิก (Free Trade Area of Asia-Pacific: FTAAP) ซึ่งไทยจะนำเสนอแผนงานการขับเคลื่อน FTAAP โดยมีเป้าหมายให้สามารถจัดตั้งขึ้นได้ภายในปี 2583 โดยจะผลักดันให้ผู้นำ APEC ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อรับรองแผนงานดังกล่าว
(2) การจัดตั้งกลไก APEC Safe Passage เพื่อส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัยระหว่างกลุ่มสมาชิก ซึ่งจะช่วยผลักดันการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว
(3) การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนภาคธุรกิจและยกระดับวิสาหกิจ MSME เพื่อดำเนินกิจการอย่างสมดุลและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการขับเคลื่อนการเงินที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยไทยได้เสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) เป็นแนคิดหลักในการประชุมครั้งนี้ในบรรดาความริเริ่มของไทยดังกล่าว การขับเคลื่อน FTAAP ถือเป็นประเด็นหลักที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งหากไทยสามารถผลักดันประเด็นนี้ให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมได้ จะส่งผลให้เกิดเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้สำเร็จ ความคืบหน้าดังกล่าวจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศนอกกลุ่ม APEC ทั้งยังจะช่วยกดดันให้การเจรจาเปิดเสรีทางการค้าในกรอบของ WTO ที่ชะงักงันให้เดินหน้าต่อไป จากการศึกษาของ World Bank2 ประเมินว่า FTAAP จะช่วยให้การส่งออกและ GDP ของไทยเติบโตสะสมในช่วง 10 ปีภายหลังการจัดตั้งประมาณ 4.1% และ 0.8% ตามลำดับ นอกจากนี้ World Bank ยังพบว่า หากเปรียบเทียบผลได้จากการเปิดเสรีทางการค้าในกรอบ FTAAP เทียบกับกรอบอื่น ๆ แล้ว FTAAP จะช่วยให้ GDP ของโลกเพิ่มขึ้นได้มากกว่ากรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) และกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 0.1% และ 0.6% ตามลำดับ ซึ่ง
Krungthai COMPASS คาดว่า FTAAP จะเป็นกลไกสำคัญในการขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ และหนุนการเชื่อมโยงของห่วงซ่อุปทานในหมู่สมาชิก ประกอบกับความพยายามจัดตั้ง FTAAP ในกรอบพหุภาคีจะช่วยลดการเผชิญหน้าและช่วยผ่อนคลายข้อขัดแย้งของชาติมหาอำนาจได้ในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทยในระยะยาวำ
การประชุมเอเปค ถือเป็นการรวมกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ครอบคลุมหลากหลายมิติในความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยสมาชิกของ APEC คือเขตเศรษฐกิจ 21 เขตที่มีพื้นที่ติดกับน่านน้ำมหาสมุทรแปชิฟิก เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและประชากร การรวมกลุ่ม APEC มีความสำคัญกับเศรษฐกิจไทยอย่างมากเนื่องจากไทยพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูง โดยเฉพาะด้านการส่งออกสินค้าและด้านการท่องเที่ยวซึ่งคู่ค้าส่วนใหญ่ (ประมาณ 2 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ) เป็นสมาชิกในกลุ่ม APEC
สำหรับการประชุมเอเปค ครั้งที่ 29 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพได้ถูกจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล (Open Connect Balance)” โดยไทยมุ่งผลักดันประเด็นด้านการส่งเสริมการค้าการลงทุนเสรี การเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย และการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน เพื่อสอดรับกับการปรับตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ความริเริ่มที่สำคัญของไทยในการประชุมคือการขับเคลื่อนเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก FTAAP ซึ่งจะเป็นเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จะส่งผลดีต่อการส่งออกและ GDP ของไทย
Krungthai COMPASS คาดว่า FTAAP จะเป็นกลไกสำคัญในการขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ และหนุนการเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในหมู่สมาชิก ประกอบกับการดำเนินการจัดตั้ง FTAAP ในกรอบพหุภาคีจะลดการเผชิญหน้าและช่วยผ่อนคลายข้อขัดแย้งของชาติมหาอำนาจได้ในอนาคต อีกทั้งการที่ไทยเป็นเจ้าภาพในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟื้นตัวจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีขึ้นในหลายมิติโดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยวและคาดว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาวได้
Krungthai COMPASS มีข้อเสนอต่อผู้ประกอบการว่า APEC ถือเป็นโอกาสของภาคธุรกิจไทยจากความพยายามของชาติสมาชิกในการลดอุปสรรคทางการค้าการอำนวยความสะดวกด้านลงทุนและการเดินทางระหว่างประเทศเพื่อเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ สินค้าขั้นกลาง และตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการขยายการค้าและการลงทุน ทั้งยังจะช่วยการกระจายความเสี่ยงและช่วยเติมเต็มซึ่งกันและกัน เนื่องจากสมาชิก APEC มีความหลากหลาย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคตอีกด้วย
ที่มา : Krungthai COMPASS